ย้อนรอยความยิ่งใหญ่ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เมื่อพูดถึงภาพยนตร์ไทย คงไม่มีหนังเรื่องไหนที่จะยิ่งใหญ่ อลังการงานสร้าง ไปกว่า ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อีกแล้ว โดยหนังฝีมือการกำกับของ ท่านมุ้ย - ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล เรื่องนี้ ได้สร้างปรากฎการณ์ และพลิกโฉมวงการภาพยนตร์ไทยหลายประการ และต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่ที่เราเอามาฝากกัน...
ภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาพยนตร์จตุรภาคเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุด จากฝีมือการกำกับของ ท่านมุ้ย - ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล ถูกสร้างขึ้นเพื่อจารึกหน้าประวัติศาสตร์ และเฉลิมพระเกียรติมหาราชผู้ประกาศอิสรภาพให้ชนชาติสยาม โดยหนังเรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งผู้เกี่ยวข้องทุกคนและทุกฝ่ายต่างภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วม โดยเชื่อว่าจะสามารถ ปลุกจิตสำนึกในเรื่องความรักชาติ และสร้างกระแสการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เรียกว่าเป็นหนัง รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เลยก็ว่าได้!
ใช้ทุนสร้างสูงสุด และทำรายได้ถล่มทลาย
เบ็ดเสร็จแล้ว หนังจตุรภาค ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ใช้เวลาการถ่ายทำนานกว่า 9 ปี (2546-2554) โดยใช้ทุนสร้างไปมหาศาลกว่า 940 ล้านบาท ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในส่วนของรัฐบาลนั้นได้ให้การสนับสนุนเป็นเงิน 376 ล้านบาท ผ่านกระทรวงพาณิชย์ 330 ล้านบาท และกระทรวงวัฒนธรรม 46 ล้านบาท
โดย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา ทำรายได้ไป 236.60 ล้านบาท และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ประกาศอิสรภาพ ทำรายไป 234.55 ล้านบาท ซึ่งมีการคาดหมายกันว่า รายได้ของ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีสิทธ์จะทะลุหลัก 1 พันล้านบาทเลยทีเดียว หากฉายครบทุกภาค
ระดมนักแสดงมากที่สุด ใช้ทีมงานเยอะที่สุด ฉากยิ่งใหญ่อลังการที่สุด
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์ที่รวมดารานักแสดงทั่วฟ้าเมืองไทยทุกรุ่น ตั้งแต่อายุ 7 - 88 ปี กว่า 50 คน พร้อมนักแสดงประกอบที่หมุนเวียนร่วมเข้าฉากกว่า 1 แสนคน และทีมงานอีกกว่า 200 ชีวิต
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างโรงถ่าย และสถานที่ ไว้สำหรับการถ่ายหนัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเฉพาะ ด้วยงบประมาณการก่อสร้างกว่า 700 ล้านบาท บนเนื้อที่ 1,500 ไร่ ในบริเวณกองพลทหาราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ จังหวัด กาญจนบุรี
ความยิ่งใหญ่อลังการของภาพยนตร์ที่เป็นการปฏิวัติวงการภาพยนตร์ไทย
ด้านเทคนิค ทั้งเทคนิคในการถ่ายทำและตัดต่อ - การใช้ visual effect, special effect รวมถึงการทำ computer graphic ซึ่งมี supervisor จากต่างประเทศที่มีผลงานจาก ภาพยนตร์ระดับโลกของ Hollywood มาร่วมงาน
ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ - เช่น Spider Cam ที่ท่านมุ้ยปรับประยุกต์ให้สามารถใช้งานได้ในรูปแบบเดียวกันกับของต่างประเทศ แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างกันหลายเท่าตัว
ม้าศึก - ม้าศึก ประมาณ 30 ตัวที่ใช้ในเรื่องนี้นำเข้าจากต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) โดยเป็นม้าที่ ได้รับการฝึกสำหรับการแสดงโดยเฉพาะ มีความสามารถพิเศษ เช่น เป็นม้าล้มและมีขนาดเหมาะสม โดยบางส่วนเป็นม้าที่แสดงในเรื่อง The Last Samurai
ด้าน Production - มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก, เครื่องประดับตกแต่ง รวมทั้งเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่อง Lord of the Ring จาก WETA ประเทศ นิวซีแลนด์ (ของ Peter Jackson – ผู้กำกับ) ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และ แรงงานได้เป็นอย่างมาก ผลงานที่ผลิตออกมามีรายละเอียดที่ประณีต เหมือนจริง
ม้าศึก - ม้าศึก ประมาณ 30 ตัวที่ใช้ในเรื่องนี้นำเข้าจากต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) โดยเป็นม้าที่ ได้รับการฝึกสำหรับการแสดงโดยเฉพาะ มีความสามารถพิเศษ เช่น เป็นม้าล้มและมีขนาดเหมาะสม โดยบางส่วนเป็นม้าที่แสดงในเรื่อง The Last Samurai
อ้างอิงข้อมูลจาก
- สหมงคลฟิล์ม
- http://th.wikipedia.org/wiki/ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- http://www.kingnaresuanmovie.com/
- สหมงคลฟิล์ม
- http://th.wikipedia.org/wiki/ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- http://www.kingnaresuanmovie.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น